loading
ลงทะเบียนนัด DEMO ออนไลน์
“รักษ” Medical Wellness” อาวุธสำคัญของมั่นคงฯ ในมือฟินันซ่า
: 14 ธันวาคม 2563 | :

รักษ ทำความรู้จัก Medical Wellness อาวุธสำคัญของมั่นคงฯ ในมือ ฟินันซ่า

เมื่อปี 2558 บริษัทมั่นคง เคหะการ (MK) ของ “ชวน ตั้งมติธรรม” เจ้าของแบรนด์ บ้านชวนชื่น อดีตผู้ประกอบการบ้านจัดสรรรายเก่าแก่ชื่อดัง พี่ชายประทีป ตั้งมติธรรม แห่งค่ายศุภาลัย ขายทิ้งกิจการให้อยู่ในมือของ บมจ. ฟินันซ่า

ก่อนหน้านั้น MK เป็นบริษัทในตลาดที่นิ่ง ๆ เงียบ ๆ ไม่หวือหวา รายได้โดยเฉลี่ยต่อปีประมาณ 2 พันล้านบาท แน่นอนสไตล์แบบนี้นักลงทุนไม่ชอบ

สู้หุ้นอสังหาฯ น้องใหม่อีกหลายเจ้าที่เข้ามาอย่างมีสีสันไม่ได้ ไม่กี่ปีก็ทยอยเปิดโครงการสร้างรายได้เป็นหมื่นล้านบาท

“รักษ” (รัก-ษะ) ศูนย์บูรณาการสุขภาพและการแพทย์แบบองค์รวม คือ หนึ่ง ในอาวุธสำคัญที่กลุ่มมั่นคงฯ ในมือฟินันซ่าได้รวมพลังกับ 2 แบรนด์ยักษ์ใหญ่ “บำรุงราษฎร์-ไมเนอร์ฯ”

หวังสร้างรายได้ สร้างชื่อ สร้างแบรนด์ โดยมีลูกค้าต่างชาติเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักเกือบ 100%

โครงการนี้สร้างขึ้นในพื้นที่บางกะเจ้า จำนวน 180 ไร่  มูลค่ารวมกว่า 2,000 ล้านบาท

เบื้องต้นเฟสแรกจะพัฒนาบนเนื้อที่ 60 ไร่ รูปแบบวิลล่า จำนวน 27 หลัง ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Fully Integrative Wellness & Medical Retreat”

โควิด-19 ทำให้ต้องเลื่อนการเปิดออกไปถึง 6 เดือน แต่ในเดือนธันวาคมที่จะถึงนี้ รักษ พร้อมที่จะเปิด

พร้อม ๆ กับการวางกลยุทธ์สร้างรายได้ฝ่าวิกฤต แล้วจะทำได้อย่างไร

คนที่จะอธิบายเรื่องนี้ได้ดีที่สุดคือ วรสิทธิ์ โภคาชัยพัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บมจ. ฟินันซ่า และ CEO บมจ. มั่นคงเคหะการ หรือ MK ที่ได้ให้สัมภาษณ์พิเศษกับ Marketeer

เริ่มแรกหลายคนคงอยากทราบว่า ทำไม บริษัทมั่นคงฯ ที่พัฒนาโครงการบ้านจัดสรรภายใต้แบรนด์ชวนชื่นเป็นหลักมากว่า 6 ทศวรรษ ถึงได้มาปักหมุดรุกธุรกิจเพื่อสุขภาพ

 อสังหาริมทรัพย์ คือความเสี่ยง ทุกครั้งที่สร้างเสร็จขายหมดก็ไปเริ่มโครงการใหม่ ต้องเรียนรู้ความต้องการของคนกลุ่มใหม่ ในเรื่องทำเลที่ตั้ง รูปแบบ ราคา จะวนเวียนอย่างนี้ไปตลอดเวลา ทุกครั้งที่เริ่มใหม่ก็ต้องถูกเป๊ะ แล้วคุณจะรู้ได้ยังไง บางโครงการห่างกันแค่ถนนคั่น โครงการหนึ่งขายดี อีกโครงการขายไม่ดี โครงการจากการเช่าและบริการจึงเป็นสิ่งหนึ่งที่จะสร้างความมั่นคงได้”

ดังนั้น ตามยุทธศาสตร์ภายใต้การบริหารงานของเขาได้ปรับโครงสร้างการทำกำไรใหม่ จากเดิมที่มาจากการสร้างเพื่อขายเป็นหลัก กลายเป็นธุรกิจเพื่อเช่าและการบริการเข้ามามีสัดส่วนกำไรที่ 50:50 ภายในปี 2564

และ รักษ คือหนึ่งในธุรกิจบริการเพื่อสร้างรายได้ประจำจึงเกิดขึ้น

นั่นคือเหตุผลแรก

2. ปัจจุบันคนให้ความสนใจในการดูแลสุขภาพมากขึ้น ในช่วงที่อายุยังอยู่ในวัยหนุ่มสาว

รักษ ไม่ใช่โรงพยาบาลรักษาคนป่วย แต่เป็นศูนย์บูรณาการสุขภาพและการแพทย์แบบองค์รวม  เป็นเรื่องการยกระดับการให้บริการทางการแพทย์เชิงป้องกันแบบองค์รวม เป็นการดูแลตัวเองเพื่อไม่ให้เกิดโรคภายใต้การดูแลของทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง”

3. เป็นธุรกิจที่สอดคล้องกับแผนแนวทางยุทธศาสตร์พัฒนาประเทศไทย (พ.ศ. 2560-2569) เพื่อยกระดับประเทศไทยให้เป็น Medical Hub และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ หรือ Medical and Wellness Tourism

4. โครงการนี้จะผลักดันให้แบรนด์มั่นคงฯ เป็นที่รู้จักและเป็นที่ยอมรับมากขึ้น จากการผนึกกำลังร่วมกับ 2 แบรนด์ดังระดับโลก คือ รพ. บำรุงราษฎร์ ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพและเวชศาสตร์ชะลอวัย ที่มีลูกค้าไปทั่วโลก และกลุ่มไมเนอร์ฯ ค่ายใหญ่ที่โดดเด่นในด้าน Hospitality การดูแลและบริหารจัดการห้องพักระดับลักชัวรีทั่วทุกทวีปในโลกเช่นกัน

ทุกอย่างถ้าเป็นไปตามแผน กลุ่มลูกค้าต่างชาติมาตามนัด ตัวรายได้ที่เพิ่มขึ้นเกือบ 5 พันล้านบาทในปี 2562 ที่ผ่านมา ต้องสวยงามกว่าเดิมเพิ่มขึ้นแน่นอน แต่วิกฤตก็เกิดขึ้น

กลยุทธ์ ฝ่าวิกฤตเมื่อน่านฟ้าปิด

1. ต้องปรับจำนวนวันในโปรแกรมการดูแลสุขภาพให้น้อยลง จากเดิมเริ่มต้นที่ 3 คืนเป็นเริ่มต้นที่ 1 คืน

2. โฟกัสไปยังลูกค้าคนไทยที่มีรายได้สูง และใช้บริการศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์ ที่ รพ. บำรุงราษฎร์ อยู่แล้ว รวมทั้งลูกค้าของกลุ่มไมเนอร์ในประเทศไทยด้วย

เพราะโควิดทำให้ลูกค้าต่างชาติเดินทางมาเมืองไทยไม่ได้ แต่ข้อดีก็คือ ลูกค้าคนไทยก็บินไปต่างประเทศไม่ได้เหมือนกัน ก็สามารถเอาเงินและเวลามาใช้ในการดูแลสุขภาพได้ง่ายขึ้น”

3. มีการปรับทีมงานให้ลดลง และพนักงานชาวต่างประเทศก็ยังไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายจ้างเข้ามา

4. ลดงบการทำตลาดในต่างประเทศไปก่อน

คำว่า Wellness Destination ความหมายจะกว้างมาก ทำอย่างไรให้คนเข้าใจ และเข้าไปมีประสบการณ์ เพื่อเรียนรู้ข้อดี และความแตกต่างจากโครงการอื่น ๆ”

เป็นความท้าทายที่วรสิทธิ์จะต้องบริหารจัดการ

อย่างไรก็ตาม เขายังยืนยันว่า

ปีหน้า 6 เดือนแรก ผมค่อนข้างมั่นใจว่าประเทศเราก็ยังปิดอยู่ แต่ผมก็เชื่อว่าเราเดินมาถูกทางแล้ว เพียงแต่ต้องใช้เวลา”

เว็บไซต์อ้างอิง : https://marketeeronline.co/archives/197681
ไม่พลาดข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อน กับ LINE @FEASY

เรื่องน่าสนใจ