loading
ลงทะเบียนนัด DEMO ออนไลน์

การประเมินค่าทรัพย์สิน

การประเมินค่าทรัพย์สินเป็นวิชาชีพที่มีความสำคัญอย่างมากต่อตลาดทุน และเศรษฐกิจ เพราะจะช่วยให้เราสามารถตัดสินใจซื้อ ขาย หรือลงทุนในทรัพย์สินได้อย่างแม่นยำ จึงจำเป็นต้องอาศัยความเชี่ยวชาญและความชำนาญของนักประเมินในการเสนอมูลค่า คุณภาพ และคุณลักษณะต่าง ๆ ของทรัพย์สินนั้น ไม่ว่าจะเป็นอสังหาริมทรัพย์ในรูปแบบใด เช่น บ้านเดี่ยว บ้านแฝด อะพาร์ตเมนต์ อาคารชุด อาคารสำนักงาน ห้างสรรพสินค้า หรือ โรงงานอุตสาหกรรม ต่างก็จำเป็นต้องได้รับการประเมินค่า ทั้งนี้วิธีการประเมินจะแตกต่างกันตามแต่วัตถุประสงค์ของการประเมินค่าทรัพย์สินต่าง ๆ ดังนี้ วัตถุประสงค์ของการประเมินค่าทรัพย์สิน

ตามมาตรฐานของ Bank of International Settlements (BIS)

  • - การซื้อหรือขายทรัพย์สิน
  • - การตัดสินใจลงทุน
  • - การซื้อหรือควบรวมกิจการ
  • - การร่วมทุน
  • - การลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
  • - การขอสินเชื่อ
  • - การประกันภัย
  • - การประเมินหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ให้กับสถาบันการเงิน
  • - การเสียภาษี
  • - การวัดระดับอัตราความเสี่ยงทรัพย์สินต่อทุนของสถาบันการเงิน

วิธีการประเมินค่าทรัพย์สิน

การเลือกวิธีการประเมินค่าทรัพย์สินจะขึ้นอยู่กับรูปแบบของทรัพย์สิน และวัตถุประสงค์ของการประเมิน โดยมีวิธีการประเมินต่าง ๆ ดังนี้

  • - วิธีวิเคราะห์มูลค่าจากต้นทุน (Cost Approach)
  • - วิธีเปรียบเทียบตลาด (Market Comparable Approach)
  • - วิธีแปลงรายได้เป็นมูลค่า (Income Approach)
  • - วิธีวิเคราะห์กระแสเงินสด (Discounted Cash Flow Analysis)
  • - วิธีการตั้งสมมติฐานการพัฒนา (Residual Approach)
  • - วิธีการประเมินโดยสร้างแบบจำลองทางสถิติ (Modelling for Mass Appraisal)
  • - หรือ นำวิธีต่าง ๆ ข้างต้นมาปรับใช้ร่วมกันเพื่อความเหมาะสม

สิ่งที่คุณจะได้รับจากการว่าจ้างประเมินมูลค่าทรัพย์สิน

เมื่อคุณว่าจ้างประเมินมูลค่าทรัพย์สิน นักประเมินจะลงพื้นที่ภาคสนามเพื่อสำรวจทรัพย์สินของคุณถึงที่ตั้ง พร้อมออกรูปเล่มรายงาน รูปถ่าย และผังทรัพย์สินประกอบในเล่มงาน เพื่อให้คุณสามารถนำไปอ้างอิงในการนำนิติกรรมต่าง ๆ ได้ เช่น การขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน เป็นต้น
รายงานการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน จะประกอบไปด้วยรายละเอียดสำคัญต่อการตัดสินใจด้านการเงินเกี่ยวทรัพย์สินนั้น ๆ เช่น วัตถุประสงค์การประเมิน วันที่สำรวจและประเมิน ที่ตั้งทรัพย์สิน การคมนาคม ทางเข้าออก ทำเลสภาพแวดล้อม การตรวจสอบเอกสารสิทธิ ราคาที่ดินราชการ สาธารณูปโภคสาธารณูปการ ข้อกฎหมายที่มีผลกระทบต่อมูลค่าทรัพย์สิน เช่น ข้อกัดหนดผังเมือง กฎหมายควบคุมอาหาร กฎหมายสิ่งแวดล้อม การเวนคืน และการถูกรอนสิทธิ รวมทั้งการวิเคราะห์ประโยชน์สูงสุดและดีที่สุด (Highest and Best use) ของทรัพย์สินนั้น ๆ การวิเคราะห์แนวโน้มความเจริญ การเลือกหลักเกณฑ์การประเมินมูลค่าทรัพย์สิน เงื่อนไขและข้อจำกัด สมมุติฐาน วิธีการประเมิน และการสรุปมูลค่าทรัพย์สินจากความเห็นของผู้ประเมิน

บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส ผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ ประเมินค่าทรัพย์สิน และวิจัยตลาดอสังหาริมทรัพย์ มากว่า 30 ปี เป็นองค์กรที่ได้รับรองด้านการประเมินค่าทรัพย์สินจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย (Bank of Thailand: BOT) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (SEC) กระทรวงการคลัง กรมการประกันภัย และอื่น ๆ

มูลค่าทรัพย์สินที่ได้รับการประเมินโดยบจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534

6,950,00,000 บาท หรือประมาณ 22,787,000 USD

สนใจรับการประเมินค่าทรัพย์สิน สามารถส่งข้อมูลเพื่อรับการปรึกษาได้ที่นี่